หากถามกันว่ารู้จักพลอยเบริลไหม น้อยคนนักที่จะรู้จักชื่อนี้ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็น รู้จักมรกต (emerald) อะความารีน (Aquamarine) หรือไม่ ก็จะรู้จักกันมากขึ้น อัญมณีทั้งสองชนิดเป็นแร่เบริล...
รายละเอียดโทแพซเป็นอัญมณีที่เป็นที่รู้จักตั้งแต่ยุคโบราณ คำว่าโทแพซอาจมีที่มาจากภาษากรีกคำว่า topazion หรืออาจมาจากภาษาสันสกฤตคำว่า tapas ที่หมายถึงประกายหรือไฟ โทแพซพบได้หลากสี ได้แก่ โทแพซ...
รายละเอียดสตาร์แซปไฟร์ เป็นแร่คอรันดัม ลักษณะเด่นคือมีความแข็งสูง ในตลาดพลอย สตาร์แซปไฟร์ โดยแบล็คสตาร์แซปไฟร์ที่พบส่วนใหญ่ในตลาดพลอยจันท์ มีน้ำหนักระหว่าง 1 ถึง 20 กะรัต นิยมเจียระไนรูป...
รายละเอียดกรอสซูลาการ์เน็ตมีหลากสี ได้แก่ เหลือง เขียว ชมพู ส้ม แดง ไม่มีสี โดยกรอสซูลาการ์เน็ตสีส้มและสีเขียวคือสีที่พบได้ทั่วไปในตลาดจันท์ ส่วนใหญ่มีน้ำหนักระหว่าง 1 ถึง 3 กะรัต เจียระไ...
รายละเอียดทับทิม เป็นแร่คอรันดัมสีแดง ลักษณะเด่นของทับทิมคือ มีความแข็งสูง ทำให้ทับทิมมีราคาสูงเมื่อเทียบกับพลอยที่มีความแข็งน้อยกว่า โดยทับทิมที่พบส่วนใหญ่ในตลาดจันท์ มีน้ำหนักระห...
รายละเอียดหากถามกันว่ารู้จักพลอยเบริลไหม น้อยคนนักที่จะรู้จักชื่อนี้ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็น รู้จักมรกต (emerald) อะความารีน (Aquamarine) หรือไม่ ก็จะรู้จักกันมากขึ้น อัญมณีทั้งสองชนิดเป็นแร่เบริลเหมือนกัน ต่างกันที่ธาตุให้สี
เบริลบริสุทธิ์ไร้สี เมื่อมีธาตุให้สีเจือในโครงสร้างจึงทำให้เบริลมีสีได้หลากสี องค์ประกอบเคมีเป็น Be3Al2Si6O18 เบริลมีชื่อทางการค้าแยกตามสีดังนี้
เบริลไร้สี เรียกว่า เบริลไร้สี โกชีไนต์ (Colorless beryl; Goshenite)
เบริลสีทอง เรียกว่า เบริลสีทอง เฮลิโอดอร์ Golden beryl; Heliodor; Heliodore)
เบริลสีเหลือง เรียกว่า เบริลสีเหลือง (Yellow beryl)
เบริลสีแดง เรียกว่า เบริลสีแดง บิกซ์ไบต์ (Red beryl; Bixbite)
เบริลสีชมพู ชมพูอมส้มถึงส้มอมชมพู ส้มอมแดง ม่วงแดง เรียกว่า เบริลสีกุหลาบ มอร์แกไนต์ (Rose beryl; Morganite)
เบริลสาแหรก เรียกว่า (Star beryl)
เบริลตาแมว เรียกว่า เบริลตาแมว (Beryl cat"s eye; Cat"s eye beryl)
เบริลสีฟ้า ฟ้าอมเขียวถึงเขียวอมฟ้า เรียกว่า อะความารีน เบริลสีน้ำทะเล (Aquamarine)
เบริลสีน้ำเงิน เรียกว่า แมกซีซี (Maxixe)
เบริลสีเขียวสด เรียกว่า มรกต (Emerald)
เบริลสีเขียวอ่อน เรียกว่า เบริลสีเขียว (Green beryl)
ชนิดของเบริลที่มีขายในตลาดพลอยจันท์คือ อะความารีน (Aquamarine) มอร์แกไนต์ (Morganite) มรกต (emerald)
คุณสมบัติทางกายภาพ | ความแข็ง: 7.5 – 8 โมห์สเกล |
ค่าดัชนีหักเห | 1.577 ถึง 1.583 (-+0.000) |
ค่าความถ่วงจำเพาะ | 2.72 (-0.05, +0.18) |
สี | ไร้สี เหลือง สีชมพู ชมพูอมส้มถึงส้มอมชมพู แดง (หายาก) สีฟ้า ฟ้าอมเขียวถึงเขียวอมฟ้า สีเขียวสด สีน้ำเงิน (หายาก) น้ำตาล ดำ |
ลักษณะทางแสง | หักเหคู่ (Double Refraction : DR) |
การเรืองแสง | LWUV : ไม่เรืองแสง ไปจนถึง เรืองแสงระดับน้อย SWUV : ไม่เรืองแสง ไปจนถึง เรืองแสงระดับน้อย |
มลทินภายใน | ผลึกแร่ มลทินของเหลว มลทิน 2 สถานะ มลทิน 3 สถานะ มลทินเส้นเข็ม มลทินท่อกลวง |
การปรับปรุงคุณภาพ | อะความารีนมักจะผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน มอร์แกไนต์ และเฮลิโอดอร์ ปรับปรุงคุณภาพด้วยการฉายรังสี |
การดูแลรักษา | ทำความสะอาดโดยแช่ในน้ำผสมน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน แล้วล้างน้ำเปล่าให้สะอาด เช็ดด้วยผ้านุ่ม มรกตเป็นพลอยที่มีรอยแตกไม่แนะนำให้ล้างด้วยเครื่องอัลตราโซนิกหรือ streamer |
แหล่งพลอย | บราซิล อาฟกานิสถาน มาดากัสการ์ สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย แซมเบีย มรกต : โคลอมเบีย แซมเบีย บราซิล ปากีสถาน ซิมบับเว อาฟกานิสถาน |